สำหรับคนไทย การดัดแปลงรถยนต์ ให้กลายเป็นรถทรงเตี้ย หรือ ทรงสูง เป็นที่นิยมมาก เพื่อปรับหน้าตาของรถให้เปรียบเสมือนรถแข่งในรูปแบบที่เจ้าของรถปรารถนา แต่หากคุณเพิ่งมีรถใหม่แล้วต้องการจะปรับเปลี่ยนเป็นรถโหลดเตี้ย หรือยกสูง มาดูข้อดีข้อเสียกันก่อน เมื่อเทียบกันแล้ว ข้อเสียอาจจะมีมากกว่าที่คุณคิดก็ได้ ก่อนอื่นมาฟังนิยามของรถโหลดเตี้ย ยกสูง กันก่อน ว่าเป็นอย่างไร
นิยามของรถโหลดเตี้ย – ยกสูง
รถโหลดเตี้ย : คือ รถยนต์ที่ระยะห่างจากกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนน ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร
รถยกสูง : คือ รถยนต์ที่ระยะห่างจากกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนน มากกว่า 135 เซนติเมตร
จากข้อมูลส่วนใหญ่ คนที่ชื่นชอบรถโหลดต่ำ บอกว่ารถยนต์จะมีสมรรถนะในการเกาะพื้นถนนได้ดีกว่า ซึ่งหากเป็นรถแข่งก็คงจะเป็นเช่นนั้น แต่ในกรณีที่เป็นรถยนต์สำหรับใช้งานในชีวิตประจำวัน ฟังแล้วอาจจะไม่อยากเอารถไปทำให้เตี้ยลงเลยจริง ๆ
มาดูกันเลยว่า 5ข้อเสียของรถโหลดเตี้ยเเละยกสูง มีอะไรกันบ้าง
5 ข้อเสีย ของรถโหลดเตี้ย
1. ช่วงล่างพังง่าย
ยังไม่เกี่ยวกับลูกระนาด การที่รถโหลดต่ำถูกขับออกนอกถนน แรงกระแทกต่าง ๆ อาจจะทำให้ชิ้นส่วนที่ถูกดัดแปลงยึดตัวรถกับ โช๊ค, ยาง, และลูกหมากศูนย์ถ่วงของรถค่อย ๆ ได้รับความเสียหายไปเรื่อย ๆ ถือว่าเพิ่มการทำงานให้กับส่วนยึดติดเหล่านี้ และหากรถยนต์มีระบุการดัดแปลงนี้ไว้ ก็จะมีผลต่อเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระทุกปี (และหากความสูงน้อยกว่าที่ กรมการขนส่งทางบกกำหนด ก็ต้องปรับเปลี่ยนสภาพรถให้เหมือนรถปกติก่อนออกวิ่ง)
2. เกิดการกระแทกกับลูกระนาด
ลูกระนาดทำให้เกิดการกระแทกมหาศาล ทั้งตัวล้อ กันชน และอุปกรณ์ช่วงล่างที่เราต้องมาเสี่ยงดวงว่าจะขูดลากเอาชิ้นส่วนไหนไปกับความสูงของลูกระนาดนั้น เนื่องจากแต่ละชุมชน หมู่บ้าน ก็กำหนดขนาดของลูกระนาดมาไม่เหมือนกัน บางที่ก็ชัน บางที่ก็นูน รถยนต์ปกติยังเสียหายกันมาแล้วนับประสาอะไรกับรถโหลดต่ำ
3. น้ำท่วมเสียหายง่ายกว่า
เมื่อจอดรถไว้ในซอยที่ง่ายต่อการถูกน้ำขังอยู่แล้ว เมื่อเจ้าของรถย้ายรถหนีไม่ทัน ต้องรองรับความเสี่ยงเจอน้ำท่วม ปล่อยรถแช่น้ำอยู่นาน ระดับน้ำอาจสูงเข้ามาในตัวรถ ทำให้รถได้รับความเสียหายหนัก
4.แรงปะทะเปลี่ยนมากลางรถ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุสำหรับรถยนต์บางรุ่น แรงปะทะจะถูกเปลี่ยนมาอยู่ที่กลางรถ นั่นก็หมายความว่าผู้ที่อยู่ในรถมีโอกาสบาดเจ็บและสูญเสียมากกว่ารถยนต์ที่ไม่ได้โหลดต่ำ
5. ขึ้นลานจอดรถยาก
รถที่โหลดต่ำมีความเสียเปรียบเมื่อต้องขึ้นลานจอดรถที่ระดับความสูงของแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน รถบางคันด้านหน้าติดของแต่งรถ ล้อรถส่งความสูงให้การขึ้นเนินได้ไม่มากพอจึงต้องวนจอดอยู่แต่ชั้นล่าง
5 ข้อเสีย ของรถยกสูง
1. หลังคาติดหลังคาจอดรถ
อาคารจอดรถต่าง ๆ มีกำหนดระดับความสูงเพื่อป้องกันไม่ให้หลังคารถติดอยู่กับเพดานลานจอดรถ อย่างเช่น 1.5 เมตร / 1.8 เมตร แล้วแต่สถานที่ รถยนต์ที่เสี่ยงต่อการขูดกับอาคารจอดรถมากที่สุด คือ กระบะยกสูง
2. หลังคาติดที่กลับรถใต้สะพาน
นอกจากความสูงของหลังคารถยนต์ รถบางคันมีเหล็กสำหรับยึดบรรทุกสัมภาระเดินทาง ซึ่งที่กลับรถใต้สะพานบางแห่งก็จำกัดความสูงไว้เช่นกัน หากถอยรถทันก็ต้องค่อย ๆ ถอยออก แต่หากถอยไม่ทัน ก็ต้องใช้ตัวช่วยบริการรถลาก หรือ ปล่อยลมยางรถออกก่อนจึงจะเคลื่อนย้ายรถได้
3. อุปกรณ์ยึดต่อช่วงล่างพังเร็ว
ยกตัวอย่างอุปกรณ์ยึดติดช่วงล่างกับ ลูกหมาก โช๊ค เสี่ยงพังเร็ว เพราะต้องรับแรงกระแทกตลอดเวลา ที่มากขึ้นจากการออกแบบมาตั้งแต่ต้น ซึ่งหากคุณออกรถใหม่ป้ายแดงเพื่อมายกสูง ก็ไม่คุ้มเสี่ยง
4. ต้องเปลี่ยนยางเป็นขนาดใหญ่
เพราะยางเดิมต้องรับน้ำหนักมาฟกขึ้น เนื่องจากรถต้องการแรงยึดเกาะที่มากขึ้นเมื่อขับขี่ หากใช้ยางขนาดเดิมจะพังเร็ว ทั้งยาง และอุปกรณ์ยึดติดช่วงล่างตามข้อ 3
5. เปลืองน้ำมัน
เมื่อรถต้องใช้ยางที่ใหญ่ขึ้น และรองรับกำลังยึดเกาะที่มากขึ้น การใช้พลังงานก็มากขึ้นไปด้วย บางท่านที่เคยนำรถยนต์ไปยกสูงก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า รถกินน้ำมันมันขึ้น ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นก็แล้วแต่รุ่นรถยนต์และของตกแต่งรถรุ่นนั้น ๆ ด้วย
ฟังอย่างนี้แล้วอาจจะรู้สึกไม่ดีกับการโหลดเตี้ย ยกสูง แต่อย่างไรก็ดีหากยังอยู่ในกฎหมายกำหนด สโมสรรถบ้าน.comอยากให้ทุกคนปลอดภัยกับการใช้รถใช้ถนน ดังนั้นหากคิดจะดัดแปลงรถอยู่ล่ะก็ อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยของคนใช้รถเป็นที่ 1 นะครับ ^^