Skip to content

เคล็ดไม่ลับไหว้แม่ย่านางรถเพื่อศิริมงคลและความปลอดภัย

  • by
เคล็ดไม่ลับไหว้แม่ย่านางรถเพื่อศิริมงคลและความปลอดภัย

ไหว้แม่ย่านางรถเพื่อศิริมงคลและความปลอดภัย

การไหว้แม่ย่านางรถ เป็นความเชื่อของคนไทยที่มีมาแต่ช้านานในสังคม ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่นับถือบูชา อีกทั้งแม่ย่านางรถยังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยคุ้มครองให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุอีกด้วย ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกันให้มากขึ้น ว่าการไหว้แม่ย่านางนั้นต้องมีการเตรียมพิธีและใช้บทสวดแบบไหน เพื่อให้ถูกต้องตามแบบประเพณีและความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง

เดิมทีแล้วความเชื่อของแม่ย่านางเพิ่งปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมนั้นเชื่อว่าเป็นความเชื่อของชาวจีนที่ค่อย ๆ ผสมกับความเชื่อในสังคมไทย  โดยตำนานความเชื่อที่ถูกเล่าต่อกันมาส่วนใหญ่นั้นมีตั้งแต่ตอนที่คนรุ่นก่อนยังคงใช้เรือในการเดินทางและขนส่ง ก่อนการออกเดินทางจะต้องมีการกราบไหว้แม่ย่านางที่สถิตบนเรือทุกครั้งเพื่อการเดินทางที่ราบรื่นและปลอดภัย 

ความเชื่อของชาวจีนนั้นเริ่มจากการเดินทางของ เจิ้งเหอ ที่แล่นสำเภาจากเมืองจีนมายังดินแดนอุษาคเนย์เพื่อทำการค้าขาย ระหว่างการเดินทางนั้นเขาก็ได้ประสบกับคลื่นลมทะเลจึงได้เซ่นไหว้ขอให้มาจู่ (พระแม่ย่า) มาคุ้มครอง หลังจากทำพิธีเซ่นไหว้ก็เกิดปาฏิหาริย์ที่ทำให้ลมพายุสงบลงทันที เมื่อเจิ้งเหอได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาก็ได้จัดพิธีบวงสรวงขึ้นอีกครั้งตามความเชื่อและความศรัทธา จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ความเชื่อนี้ได้ถูกเผยแพร่ในสังคมไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพราะคนสมัยก่อนเดินทางด้วยเรือเป็นหลักเช่นกัน ทางไทยจึงได้รับนำเอาวัฒนธรรมนี้มาใช้และถูกเรียกขานนามตามแบบวัฒนธรรมไทย

อีกตำนานหนึ่งจะเป็นตำนานตามแบบอินเดียที่ได้มีการเล่าว่าสมัยก่อนพระอิศวรและพระแม่อุมาได้รับการร้องเรียนจากพวกกุ้งในแม่น้ำว่าตนนั้นเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆ ไม่มีความสามารถในการต่อกรกับสัตว์อื่นได้ พระแม่อุมาจึงได้ดลบันดาลให้กุ้งมีอาวุธเป็นหอกแหลมคมอยู่บนหัวและมีปลายแหลมคมอยู่ตรงหาง ทำให้กลายเป็นว่าพวกกุ้งนั้นวางแผนร้ายที่คอยก่อกวนเรือต่าง ๆ ที่เดินทางผ่านน่านน้ำโดยใช้อาวุธที่ได้เจาะเรือให้ล่ม จนกลายเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ที่เดินทางผ่านไปมา ทำให้เรื่องนี้ไปถึงหูของพระแม่อุมาเทวีและได้สั่งให้แม่ย่านางได้จัดการเรื่องนี้ เพื่อช่วยให้ความสงบสุขกลับคืนสู่แม่น้ำอีกครั้ง หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ทำให้ก่อนออกเดินทางทุกครั้งจะต้องมีการบูชาแม่ย่านางเพื่อเป็นการขอพรให้แม่ย่านางคุ้มครองรักษา

จากทั้งสองตำนานนี้ก็ทำให้เห็นว่าจุดประสงค์ของการไหว้แม่ย่านางคือความปลอดภัยในการเดินทางที่ไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ชาวเรือประมงหรือเรือสำเภาจะทำพิธีบูชาแม่ย่านางเสมอและกลายเป็นว่าในปัจจุบันคนที่ขับรถก็ได้นำเอาเคล็ดนี้มาใช้ด้วยเพื่อความเป็นสิริมงคลในการเดินทางหรือแม้แต่ซื้อรถใหม่ก็มีการไหว้แม่ย่านางด้วย ถือว่าเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยในการเริ่มต้นการเดินทางที่ดี

เมื่อเราได้เตรียมของทำพิธีการไหว้แม่ย่านางไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงส่วนสำคัญในเรื่องของการไหว้แม่ย่านาง ซึ่งการทำพิธีการไหว้แม่ย่านางที่ถูกต้องจะเป็นการนำมาสิ่งสิริมงคลที่ดีให้แก่บูชานั่นเอง โดยขั้นตอนการไหว้แม่ย่างมีการประกอบพิธีดังนี้ค่ะ

ตั้งโต๊ะทำพิธีไหว้แม่ย่านางหน้ารถ

ตั้งโต๊ะทำพิธีไหว้แม่ย่านางหน้ารถและนำของที่เตรียมไว้ไปวางให้เรียบร้อย ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ หลังจากนั้นให้บีบแตร 3 ที ถือว่าเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย
ให้ทำการจุดธูป หลังจากนั้นเมื่อทำการจุดธูปแล้ว ให้ตั้งนะโม 3 จบ พร้อมกับน้อมจิตถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากนั้นให้ทำการกล่าวถึงแม่ย่านาง เพื่อให้ท่านมารับของไหว้ และทำการขอให้ท่านคุ้มครองในการเดินทางที่ปลอดภัย แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ
เมื่อทำพิธีข้างต้นเสร็จแล้วเรียบร้อย ให้รอธูปไหม้จนหมดดอก จากนั้นจึงค่อยลาของไหว้มากิน เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการไหว้แม่ย่านางค่ะ
บทสวดที่ใช้ในการบูชาแม่ย่านางรถ
บทสวดที่ใช้ในการบูชาแม่ย่านาง

จากที่กล่าวมาข้างต้นในการทำพิธีบูชาแม่ย่านาง จะต้องมีบทสวดที่ใช้ในการบูชาแม่ย่านางซึ่งขั้นตอนที่จะต้องใช้บทสวดจะต้องกล่าวหลังจากที่ทำการบูชาพระเรียบร้อยแล้ว บทสวดที่ใช้ในการบูชาแม่ย่านางจะมีบทกล่าวดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ

ทุติยัมปิ สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ

ตะติยัม สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ

ลูกขอถวายสิ่งของเหล่านี้แก่แม่ย่านางรถ ขอท่านจงรับซึ่งสิ่งของเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ลูกทั้งหลายเทอญ สาธุ

และเมื่อกล่าวเสร็จแล้วก็ทำขั้นตอนตามที่กล่าวข้างต้นได้เลยค่ะ หลังจากที่ธูปไหม้หมดดอกแล้วจึงสามารถลาของไหว้มากินซึ่งคำกล่าวลาของไหว้จะกล่าวในบทสวดดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พุทธังลา ธัมมังลา สังฆังลา ข้าพเจ้าขอลาสิ่งของเหล่านี้ เพื่อให้เป็นทานต่อไป และเพื่อเป็นยารักษาโรค อย่าให้เกิดโทษใดๆ เลย

นะ เสสัง มังคะลา ยาจามะ

หลังจากนั้นจึงถือว่าเป็นการจบพิธีไหว้แม่ย่านางอย่างสมบูรณ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

X