Skip to content

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยภายในรถยนต์

  • by
อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย 2022

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยภายในรถยนต์

ครั้งหนึ่งเราเคยได้อาศัยรถยนต์ทำหน้าที่เป็นยานพาหน ะ ในการรับ-ส่งผู้คนและสิ่งของต่างๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยความ รวดเร็วกว่าการใช้แรงงานจากสัตว์พาหนะ เท่านี้ก็เพียงพอกับความต้องการของผู้คนในยุคก่อน แต่ด้วยความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มี วันสิ้นสุด ต่อให้มี ทรัพย์สินในครอบครองเป็นมูลค่ามหาศาลเพียงใดก็ตาม ทำให้วงการรถยนต์ต้องหาทางพัฒนาการตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์ ให้มากขึ้น

ทุกวันนี้เราจะพบว่า ในความเป็นตัวตนของรถยนต์นั้น ไม่เพียงแต่จะอำนวยความสะดวกสบายในการใช้งานได้อย่าง มากมายช่วยย่น ระยะ เวลาในการเดินทางให้รวดเร็วขึ้น แถมยิ่งถ้าเป็นรถที่มีราคาแพง ยิ่งให้ความปลอดภัยในการใช้งานเป็นเลิศ เพราะสามารถบรรจุ นวัตกรรมที่ช่วย ให้การขับขี่อย่างปลอดภัยเสริมเข้ามาได้อย่างไม่อั้น สมกับราคารถ แต่ในความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ บนท้องถนน ทุกวันนี้ไม่ได้มีเพียง รถยนต์สุดหรูหรา แล่นอยู่บนท้องถนนเพียงไม่กี่คัน แต่รอบตัวนั้นยังมีเพื่อนร่วมทางอีกนับสิบและมีเป็นพันรุ่น ที่แล่น กันอย่างขวักไขว่ ดังนั้นจึง ไม่มีทางเป็นไปได้ว่า รถยนต์หรูราคาแพงจะสามารถปกป้องให้ผู้ขับขี่หรือผู้โ ดยสารที่นั่งอยู่ได้อย่างปลอดภัย เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ หากมีอุบัติเหตุ เกิดขึ้นรุนแรง
 

 


      เมื่อศึกษาลึกลงไปก็จะพบว่า ไม่เพียงแต่จะให้รถยนต์มีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความ ปลอดภัยเสริมเข้าไปมากขึ้นเพียงใดก็ตามแต่ท้าย ที่สุดแล้ว พฤติกรรมในการใช้รถใช้ถนนของมนุษย์นี่แหละ จะมีส่วนช่วยลดสถิติที่น่าสะพรึงกลัวจากอุบัติเหตุได ้มากที่สุด ถ้าทรัพยากร มนุษย์ของประเทศ มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของการขับขี่ยานพาหนะเป ็นอย่างดี สามารถใช้รถใช้ถนนร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักและเข้าใจในกฎแห่ง ความปลอดภัย อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่เสริมเข้ามาอาจจะแทบไม่มี ความจำเป็นต้องใช้ แต่กับประเทศที่ยัง ไม่มีความเข้มงวดกับมาตรการ เรื่องความปลอดภัย ยกตัวอย่างบ้านเรานี่แหละ น่าจะเป็นประเทศที่ต้องใช้รถยนต์ที่มีอุปกรณ์มาตรฐาน ความปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ เพื่อที่จะให้ ตัวเลขความสูญเสียลดลงไปได้บ้าง


      

    จากเหตุและผลหลายข้อที่ยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพ ก็พอจะมองออกว่า รถที่พวกเราใช้กันอยู่ หรือวางขายกันอยู่ในปัจจุบัน น่าจะมีอะไร ให้ มากกว่าชนชาติอื่นเป็นพิเศษ…อย่างนั้นหรือเปล่า? ไม่ใช่มีเพียง อวทม. ที่เต็นท์เอาไว้เพิ่มราคาค่าตัวรถเวลาตั้งขายให้ลูกค้า ABS หรือระบบป้องกันล้อล็อกตายเวลาเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน เมื่อล้อไม่ล็อก เรายังมีโอกาสหักพวงมาลัยเลี้ยวหลบสิ่งกีดขวางได้ทัน แต่ถ้าไม่มีเจ้าอุปกรณ์ที่ว่านี้ละก็ เวลาเหยียบเบรกเต็มแรง ล้อรถจะถูกล็อกตายทั้งหน้า-หลัง แล้วก็พุ่งทื่อไปตามทิศทางที่รถแล่นมา ถ้า วินาทีนั้นมีอะไรขวางอยู่ข้างหน้า และเราต้องการจะหมุนพวงมาลัยเพื่อหักหลบ ล้อหน้ามันจะหันเลี้ยวไปตามพวงมาลัยอยู่เหมือนกัน แต่ล้อรถที่ถูกล็อกตายจะไม่เกิดผลใดๆ ต่อการบังคับเลี้ยว ตัวรถจึงพุ่งทื่อเข้าใส่สิ่งกีดขวางเข้าจังๆ ได้

          ปัจจุบัน ABS ได้ถูกพัฒนาต่อยอดมาเป็นระบบควบคุมการทำงานของล้อรถ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการใช้งานได้สูงขึ้น จาก ABS ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเป็น Traction Control – TRC คือเอาไว้ควบคุมการหมุนฟรีของล้อขับเคลื่อนของรถ ขณะที่เร่งออกตัวอย่างแรง มันจะช่วยดึงรอบเครื่องให้ลดลง พร้อมกันนั้นก็จะสั่งให้เบรกทำงานชะลอความเร็วของล้อ ที่หมุนฟรี เพื่อให้ล้อขับทั้งคู่ทำงานด้วยแรงบิด ที่ใกล้เคียงกัน และไม่มากจนเกินไปจนล้อหมุนฟรีได้อีก คราวนี้ตัวรถก็จะเคลื่อนที่ออกตัวไปได้อย่างราบเรียบ ไม่มีอาการปัดเป๋ แม้ว่าพื้นผิว ถนนจะเคลือบไว้ด้วยโคลนลื่นๆ

        ในช่วงปี 1995 Bosch แห่งเยอรมนี เจ้าตำรับผู้คิดค้นระบบเบรก ABS และ TRC ก็ได้พัฒนาต่อยอดการทำงานของล้อรถขึ้นมา อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้มีการรวมเอาฟังก์ชันทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน และเพิ่มการทำงานใหม่ขึ้นมา เพื่อให้ระบบนี้สามารถช่วยรักษาการ ทรงตัวของรถขณะเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ เรียกว่า Stability Control แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า ESP ซึ่งมาจากคำว่า Electronic Stability Program หรือ VSC – Vehicle Stability Control และชื่ออื่นๆ อีกหลายอย่าง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น เจ้าอุปกรณ์ที่ว่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวรักษาการทรงตัวของรถขณะเข้าโค้งเป็นหลัก

การทำงานของระบบรักษาการทรงตัว จะอาศัยการตรวจจับองศาการหมุนพวงมาลัยขณะเข้าโค้ง และนำไปเปรียบเทียบทิศทางของ รถที่ถูกบังคับเลี้ยวว่าเป็นไปตามที่พวงมาลัยถูกบังคับหรือไม่ โดยมี Yaw Sensor ทำหน้าที่ตรวจเช็กจับอาการของรถอยู่ ถ้ามีอาการผิด ปกติ คือตัวรถไม่ได้เลี้ยวไปตามทิศทางการบังคับของพวงมาลัย เช่น หน้ารถทำท่าจะดื้อไม่ยอมเข้าโค้งที่เรียกว่าอาการอัน เดอร์สเตียร์ ระบบ ESP จะสั่งให้มีการใช้เบรกที่ล้อใดล้อหนึ่ง อย่างในกรณีนี้จะมีการใช้เบรกที่ล้อหลังด้านในโค้ง เพื่อให้เกิดอาการเหมือนกับเป็น จุดหมุนของตัวรถ และน้ำหนักส่วนหน้าของตัวรถจะเกิดแรงเหวี่ยงกลับเข้า หาด้านในโค้งได้ในที่สุด และระบบก็จะยกเลิกการทำงาน เมื่อรถกลับเข้าสู่แนวบังคับของพวงมาลัยเรียบร้อย

          ในทางตรงกันข้าม กรณีที่ตัวรถเกิดอาการโอเวอร์สเตียร์ขณะเข้าโค้ง คือมีอาการท้ายรถถูกเหวี่ยงออกนอกโค้งอย่างแรงและจะหลุด ออกนอกทาง จะมีการจ่ายแรงเบรกไปที่ล้อหน้าด้านนอกโค้ง เพื่อลดแรงเหวี่ยงที่ท้ายรถ และดึงรถกลับเข้าสู่ทิศทางการบังคับเลี้ยวของ พวงมาลัย แบบนี้เป็นต้น อย่างไรก็ตามลักษณะการบังคับใช้เบรกที่ล้อใดล้อหนึ่ง ตามที่ยกตัวอย่างมา จะขึ้นอยู่กับการควบคุมของระบบ ESP ที่อาศัยข้อมูลทั้งจากการหันเลี้ยวของตัวรถ และความเร็วของล้อแต่ละล้อควบคู่กันไปด้วย เพื่อผลในการบังคับรถไม่ให้หลุดออกนอก แนวทิศทางการบังคับของพวงมาลัยเป็นหลัก

ปัจจุบันอุปกรณ์ตัวช่วยดีๆ อย่าง ESP เพิ่งจะมีติดตั้งอยู่ในรถใหม่ ทั้งปิกอัพและรถเก๋งที่วางขายในบ้านเราเพียงแค่ 2% พอๆ กับ TRC แต่ถ้าใส่ ABS มาให้แล้วถึง 52% และลองเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ติดตั้ง ESPมาให้แล้ว 26%, ABS-87% ถือว่ายังห่างไกลโข ยิ่งเทียบกับยุโรปและสหรัฐที่มีตัวเลข ESP = 46% และ 47%, ABS = 88%, 94% ตามลำดับ ก็ต้องบอกว่างานนี้รถบ้านเราขายแพง แต่อุปกรณ์ไม่ค่อยจะครบ น่าจะใกล้ความจริง ก็คงต้องรอมาตรการภาคบังคับจากรัฐบาลที่จะเห็นความจำ เป็นของระบบความปลอดภัย ที่ทันสมัยเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่เพียงแค่เห็นเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้วจ้อ งแต่จะคิดภาษีเพิ่มกันลูกเดียว ราคาตัวรถมันก็จะพุ่ง สูงขึ้นจนเกินตัว แล้วชาวบ้านเค้าก็เลยไม่สนใจจะให้ติดมากับรถด้วย ทั้งๆ ที่ปัจจุบันราคาของอุปกรณ์เหล่านี้ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก อาจจะ พอๆ กับราคาล้อแม็กงามๆ สักชุดเท่านั้น แต่คุณค่าของมันห่างไกลกันเยอะมาก และจะมีส่วนช่วยลดอุบัติภัยบนท้องถนนลงได้อีกมาก ต้องฝากให้ผู้เกี่ยวข้องลองพิจารณากันดู

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

X