Skip to content

9 วิธีแก้ปวดหลัง เวลาขับรถเดินทางไกลเวลานานๆ

  • by
วิธีแก้ปวดหลัง 2022

ผู้ที่ต้องเดินทางไกลๆ เป็นเวลานาน หรืออาจเจอการจราจรที่ติดขัดทำให้ต้องอยู่บนรถเป็นเวลาหลายชั่วโมง นอกจากมีอาการที่เพลียกับการขับรถแล้วยังมีอาการปวดเมื่อยตัวด้วยใช่ไหมครับ ซึ่งอาการปวดเมื่อยตัวหรือปวดหลังเกิดจากการนั่งทางที่ไม่เหมาะสม ทั้งอาจจะนั่งชิดหรือห่างจากพวกมาลัยจนเกินไป นอกจากมีอาการปวดแล้วยังทำให้หลังของเรานั้นมีลักษณะที่โค้งงอ ถ้าหากไม่ปรับเปลี่ยนถ้านั่งให้ถูกต้องอาจมีผลกระทบต่อการขับรถได้ รวมถึงผลเสียต่อสุขภาพของผู้ขับขี่อีกด้วย รถบ้านขอนแก่น

9 วิธีแก้ปวดหลัง เวลาขับรถเดินทางไกล

1.นั่งให้ชิดเบาะ เวลานั่งให้แผ่นหลัง สะโพก และต้นขา ชิดเบาะมากที่สุด เพื่อให้เบาะโอบรับสรีระของร่างกายให้มากที่สุด
2.ปรับระยะห่างที่นั่ง ระยะที่เหมาะสมคือระยะที่เข่าของคุณจะงอเล็กน้อยเวลาเหยียบเบรกจนสุด นอกจากจะทำให้เหยียบเบรกหรือคันเร่งได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังช่วยลดการบาดเจ็บหากเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันข้างหน้าอีกด้วยนะครับ
3.ปรับความสูงของที่นั่ง เพื่อให้ได้ทัศนะวิสัยที่ดี มองเห็นได้รอบรถและมองเห็นกระจกแต่ละส่วนได้ชัดเจน ซึ่งการปรับกระจกทั้ง 3 บาน เพื่อให้เห็นทัศนวิสัยโดยบานกลางจะต้องเห็นด้านท้ายของรถ ส่วนบานด้านซ้ายและขวาต้องให้เห็นตัวรถ 1 ส่วน 4
4.ปรับเบาะที่นั่งเงยขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้สามารถเหยียบคันเร่งหรือเบรกได้ง่ายขึ้นและให้เบาะนั่งรับกับต้นขาได้ดีขึ้น
5.ปรับพนักพิงให้เอนประมาณ 110 องศา เพื่อสร้างระยะห่างจากพวกมาลัยที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมรถได้ง่ายขึ้น
6.ปรับเบาะรองศีรษะให้ตรงกับระดับใบหูของผู้ขับหรือกึ่งกลางของใบหู และระยะห่างระหว่างศีรษะกับเบาะรองศีรษะควรอยู่ที่ประมาณ 2 เซนติเมตร
7.ตำแหน่งการจับพวงมาลัยจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา เพราะเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับหัวไหล่ เพื่อลดอาการเมื่อยไหล่ และยังทำให้หมุนพวกมาลัยได้ง่าย ไม่หลุดมือครับ
8.ปรับมุมพวงมาลัยให้อยู่ในองศาที่เมื่อจับพวงมาลัยแล้วรู้สึกถนัดมากที่สุด ไม่รู้สึกว่าต้องเอื้อม หรือเกร็งไหล่นั่นเองครับ
9.ระยะพวงมาลัย ยืดแขนไปพาดอยู่บนพวกมาลัย แล้วปรับให้ระยะของพวงมาลัยอยู่ระยะของข้อมือของเรา โดยที่ตัวยังแนบอยู่กับที่นั่ง เมื่อปรับได้ระยะที่ถูกต้องแล้ว แขนของเราจะงอเล็กน้อยเวลาจับพวกมาลัย ซึ่งทำให้ง่ายต่อการควบคุม

วิธีแก้ปวดหลัง

 เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการที่เรื้อรัง และไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่อยากให้เกิดจะต้องปรับเปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้องนะครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

X